กลับหน้ารวม FAQ                                                                                      Thai l Eng

. คำถามที่พบบ่อย OpticSlim OS550

 

และ Guest Profile

  1. สแกนแล้วเป็นเส้นแนวตั้งเป็นสีรุ้งแปลกๆ หรือตัวอักษรซ้อนกัน คลิกทีนี่
  2. ปุ่มกดที่ตัวเครื่องกดไม่ได้ คลิกทีนี่
  3. ไฟไม่เข้าตัวเครื่อง คลิกทีนี่
  4. สแกนแล้วสีเพี้ยน คลิกทีนี่
  5. หลังจากสแกนพาสปอร์ตแล้วทำ OCR ไม่ได้ คลิกทีนี่
  6. อ่าน Passport ทุกประเทศได้หรือไม่ คลิกทีนี่
  7. การเช็ดกระจกสแกนที่ถูกต้องควรทำอย่างไร คลิกทีนี่
  8. Passport scanner สามารถอ่านข้อมูลจากพาสปอร์ตประเทศใดได้บ้าง คลิกทีนี่
  9. หนังสือเดินทาง (Passport) มีกี่ประเภท คลิกที่นี่
  10. สีของปกหนังสือเดินทาง (Passpor) มีกี่สี ต่างกันอย่างไร คลิกที่นี่
   
   
 
1.ถาม สแกนแล้วเป็นเส้นแนวตั้ง หรือเป็นสีรุ้งแปลกๆ หรือตัวอักษรซ้อนกัน
ตอบ 1. ส่งซ่อมที่บริษัท
2.ถาม ปุ่มกดที่ตัวเครื่องกดไม่ได้
ตอบ 1. ปุ่มกดเสีย ส่งกลับมาซ่อมที่บริษัท
3.ถาม ไฟไม่เข้าตัวเครื่อง
ตอบ 1. อแดปเตอร์เสีย ส่งกลับมาซ่อมที่บริษัท
4.ถาม สแกนแล้วสีเพี้ยน
ตอบ 1. ให้ทำการ Calibrate สแกนเนอร์ ทำได้โดยไปที่
  Start--> program files --> Plutek OpticSlim 550 --> Calibration wizard จากนั้น ทำตามขั้นตอนโดยการกด Next ไปเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นขบวนการ
5.ถาม หลังจากสแกน Passport แล้วทำ OCR ไม่ได้
ตอบ 1. เกิดจากวาง Passport ผิดตำแหน่ง ให้ใช้มือกด Passport ให้แนบกับกระจกสแกน
  และวางให้ชิดมุมบนขวา ตามภาพ
 
6.ถาม อ่าน Passport ทุกประเทศได้หรือไม่
ตอบ 1. ได้ทั้งหมด เว้นแต่ Passport ที่เป็นแบบเขียน ไม่สามารถอ่านได้
7.ถาม การเช็ดกระจกสแกนที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
ตอบ 1. เช็ดบริเวณกระจกสแกนด้วยผ้าสะอาดไม่มีขน สามารถใช้น้ำยาเช็ดกระจกได้
  แต่เวลาฉีดน้ำยาต้องให้อยู่บริเวณกลางกระจก ห้ามฉีดทั่วทั้งแผ่น เพราะคราบฝุ่น
จากการเช็ดและน้ำยาเช็ดกระจกอาจเล็ดลอดเข้าไปในสแกนเนอร์ได้
8.ถาม Passport scanner สามารถอ่านข้อมูลจากพาสปอร์ตประเทศใดได้บ้าง
ตอบ 1. ทุกประเทศที่ใช้พาสปอร์ตชนิดที่อ่านได้ด้วยเครื่อง
  (Machine Readable Passport : MRP)
 
Machine Readable Passport
9.ถาม หนังสือเดินทาง (Passport) มีกี่ประเภท
ตอบ หนังสือเดินทาง แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
  1. หนังสือเดินทางกลุ่มที่ไม่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง
คือ หนังสือเดินทาง ที่ยังใช้วิธีการ ผลิตด้วยมือ และเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
ก็ต้องใช้ตาเปล่าในการตรวจ พูดง่ายๆ ก็คือ มีวิธีการผลิตโดยใช้กาวติดที่รูปแล้ว
ปะ ลงบนหนังสือเดินทางแล้วเขียนข้อมูลต่างๆ ด้วยมือ ส่วนการตรวจที่ด่าน ตรวจคนเข้าเมือง ก็ใช้สายตาของเจ้าหน้าที่ตรวจดูว่าเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่
วิธีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคแรก
2. หนังสือเดินทางที่อ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine Readable Passport : MRP)
คือ หนังสือ เดินทาง ที่สามารถใช้เครื่องมืออ่านรหัสบนเล่ม และทำให้ข้อมูลไปปรากฎที่
จอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง สามารถอ่านได้จาก จอคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบการตรวจคนเข้าเมือง สะดวก รวดเร็วและถูกต้องแน่นอนขึ้น
3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic passport)
หรือที่เรียกสั่นๆ ว่า “e-passport” คือ หนังสือเดินทาง ะบบใหม่ล่าสุดที่เพิ่งจะพัฒนาขึ้น
เมื่อสัก 4-5 ปี มานี้ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการหนังสือเดินทาง ของประชาคมโลกเรา
  แหล่งที่มาบทความ : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
10.ถาม สีของปกหนังสือเดินทาง (Passpor) มีกี่สี ต่างกันอย่างไร
ตอบ สำหรับผู้ที่ประสงค์อยากเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งแรกที่ทุกคนต้องมีคือ
  หนังสือเดินทาง หรือที่ทุกคนเรียกว่า พาสปอร์ต (passport) ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้แสดงความเป็นตัวท่าน
ที่ถือเป็นสากล ใช้ได้ทั่วโลก และยังเป็นสมุดบันทึกการเดินทางเข้าออกประเทศต่าง ๆ อีกด้วย หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะ ประชาชนไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ สามารถออกในประเทศไทยโดยหน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง
   
  ลักษณะของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
  หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมู
โดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย"
(อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทาง ที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง
 
Thai Passport
   
  ประเภทของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
  1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ใน การเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทาง เพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
- พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
- พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
- ประธานองคมนตรี และองคมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
- ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
- ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่ หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
- คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
- บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
- หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ
ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทาง ไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
  แหล่งที่มาบทความ : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ